O-NET หรือ NT คืออะไร
· NT และ O-NET เป็นการทดสอบที่มีจุดหมายเดียวกัน คือประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนแต่ละโรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาทำแผนพัฒนานักเรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ รู้จักคิดวิเคราะห์ เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น เมื่อเรียนครบ 3 ปี โดยจะทดสอบที่ชั้นสูงสุดของช่วงชั้นนั้นๆ
· การสอบ O-NET และ NT ใช้ข้อสอบมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ แต่ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดสอบ O-NET และ NT เป็นคนละหน่วยงานกัน และ การสอบทั้งสองแบบ นักเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
· NT หรือ National Test จัดสอบโดย สพฐ. หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ส่วน O-NET จัดสอบโดย สทศ. หรือสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
· ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยแบ่งเป็น 4 ช่วงชั้น (12 ปี) คือ ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) และช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6)
· ในปีการศึกษา 2551 สพฐ. จะจัดสอบให้กับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 1 หรือ ป.3 ส่วน สทศ. จะจัดสอบให้กับนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6
· ม.6 จะใช้ศูนย์สอบมหาวิทยาลัย 20 แห่ง สอบวิชา สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ศิลปะ และการเงินอาชีพฯ รวม 8 กลุ่มสาระฯ
· ม.3 ใช้โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นสนามสอบ สอบวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา
· ป.6 สอบในโรงเรียนที่นักเรียนเรียนอยู่ สอบวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
· นอกจากนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกแห่ง ยังจะจัดสอบประเมินนักเรียนทุกคนในชั้น ป.2 ป.5 และม.2 อีกด้วย เพื่อนำข้อมูลไปใช้ปรับปรุงและพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลก่อนที่จะจบช่วงชั้นในปีต่อไป
· ที่ผ่านมายังไม่มีการนำผลคะแนนมาใช้อย่างจริงจัง เป็นเพียงเก็บเป็นสถิติ และวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อประเมินการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียน และนักเรียนที่มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
· เท่าที่ทราบ ในอนาคตอันใกล้ ทางกระทรวงฯ จะผลักดันให้เห็นผลที่ชัดเจนขึ้น โดยเด็กสามารถนำคะแนนที่ได้ไปใช้เป็นองค์ประกอบสอบคัดเลือกเข้า ม.1 และ ม.4 แต่… จะเป็นไปได้แค่ไหน ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และโรงเรียนใดจะนำร่อง …หรือแม้แต่ใช้เป็นองค์ประกอบการเลื่อนชั้นเรียน ถ้าใครสอบ O-NET ไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะไม่ให้เลื่อนชั้น
· ฉะนั้น ! นักเรียนจะจบการศึกษาแต่ละช่วงชั้นได้ ต้องสอบ O-NET เป็นหน้าที่
· โดยเฉพาะ ม.6 จะต้องสอบ O-NET ทุกคน เพราะนอกจากจะเป็นการประเมินคุณภาพระดับชาติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว โรงเรียนยังจะนําผลคะแนนไปกรอกในแบบ ป.พ.1 ในช่องผลการประเมินระดับชาติ
· นักเรียน สามารถนำคะแนนที่ได้ไปยื่นเลือกคณะ เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลาง นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังมีนโยบายนํา O-NET ไปถ่วงน้ำหนักคะแนน GPA อีกด้วย
การสอบ LAS (Local Assessment System)
มารู้จักกันก่อนว่า L.A.S.คืออะไร
L.A.S คือ การประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา สำหรับนักเรียนระดับชั้น ป.2, ป.5, ม.2 และ ม.5 ของทุกโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา
ซึงเดิมมีการกำหนดรายวิชาในการทดสอบ ในแต่ละระดับ 5 รายวิชา คือ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมฯ วิทยาศาสตร์
แต่ปัจจุบันจะมีการทดสอบให้ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ สังคมศึกษา, คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, วิทยาศาสตร์, สุขศึกษาและพลศึกษา, ศิลปะ, และการงานอาชีพเทคโนโลยี
การทดสอบทางการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับ อันนำไปสู่การพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตนเองได้อย่างแท้จริงต่อไป
สอนโดย อดีตนักศึกษาแพทย์มหิดลชั้นปีที่ 6 (extern) ที่มีเกรดเฉลี่ยรวมดีเยี่ยมถึงเกณฑ์มีสิทธิ์ได้รับทุนคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นอาจารย์แพทย์ด้านการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์(Ph.D.) ถึงระดับปริญญาเอก
ปัจจุบันเป็นเจ้าของโรงเรียนกวดวิชาครูพี่ top และประกอบกิจการส่วนตัว
ติดต่อ tel : 08-4455-0520
www.kru-top.com
E-mail : topne_911@hotmail.com
kru_top@live.com
Line ID : toffykung 123
Instagram : tutortop
อ่านประวัติผู้สอนเต็มๆ คลิกที่นี่
ความเห็นจากเพื่อนๆที่ประสบความสำเร็จหลังจากมาเรียนกับครูพี่ top คลิกที่นี่
กวดวิชา สอนพิเศษ ติวเตอร์ เรียนพิเศษติวตัวต่อตัว เรียนพิเศษ รับสอนพิเศษ ครูสอนพิเศษ รับติว โรงเรียนกวดวิชา สถาบันกวดวิชา โรงเรียนสอนพิเศษติว สถาบันสอนพิเศษติว ติวทำเกรด ติวสอบเข้าสอบแข่งขัน ติว ติวเสริมเพิ่มเกรด ติวสอบ ติวสอบเข้า ติวตัวต่อตัว เรียนตัวต่อตัว สอนพิเศษตัวต่อตัว ครูสอนตัวต่อตัว สอนเดี่ยว/กลุ่มย่อย ติวเดี่ยว/กลุ่มย่อย