ติวสอบPAT3 (แพท3)

PAT 3 (แพท3) ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

  • วัตถุประสงค์การสอบ

ใช้สำหรับสอบเข้าศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ระดับมหาวิทยาลัย เนื้อหา เช่น Engineering
Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability

  • ลักษณะข้อสอบ

PAT 3 นี้ จะเป็นความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งข้อสอบจะมีทั้งหมด 2 ตอน 300 คะแนน 80 ข้อ ข้อสอบเป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก
เนื้อหา :
1) กลศาสตร์ (แรง มวล และการเคลื่อนที่)
2) ไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า คลื่น แสง และเสียง
3) เคมี (สาร และสมบัติของสาร)
4) พลังงาน ความร้อน และของไหล
5) คณิตศาสตร์ และสถิติประยุกต์เชิงวิศวกรรม
ศักยภาพ :
1) การคิดวิเคราะห์
2) ความถนัดเชิงช่าง
3) ความคิดเชิงตรรกะ
4) สามัญสํานึกเรื่องความปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม
5) การแก้ปัญหา
6) ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย
อ้างอ้งจาก : ข้อสอบ PAT3 ปี2552

  • เวลาในการสอบ : 3 ชั่วโมง
  • วิธีการสมัครสอบ และค่าธรรมเนียมการสอบ

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ
จะต้องเป็นนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในชั้น ม.5 – ม.6 หรือเทียบเท่า และ/หรือเป็น นักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าแล้วเท่านั้น

  • การสมัครสอบ Online

วิธีการสมัคร Online
1) เข้าเว็บไซต์ สทศ. http://www.niets.or.th/
2) Click ที่ Menu “เข้าระบบ GAT / PAT” หรือเข้าตรงได้ที่ http://www.onetresult.niets.or.th/

– คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด
– ประกาศผลสอบ ภายหลังการสอบประมาณ 2 เดือน
– สนามสอบขึ้นอยู่กับที่อยู่ของผู้สมัคร

  • รายละเอียดเพิ่มเติม

ติดต่อสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
เลขที่ 128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 35-36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
สอบถามข้อมูล โทรศัพท์: 0-2217-3800 ตั้งแต่เวลา 8:30 – 19:00 น. ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ
โทรสาร: 0-2219-2996
e-mail : webmaster@niets.or.th

 

คำแนะนำก่อนสอบ PAT3

สวัสดีครับน้องๆ อีกไม่กี่วัน เราก็จะสอบ PAT3 กันแล้วใช่ไหมครับ พวกพี่เลยมีคำแนะนำและเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่ทุกคนควรจะรู้ก่อนสอบ PAT3 จากประสบการณ์จริง มาแชร์ให้ฟัง อย่างแรกเลยคือ PAT3 เนี่ย เนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบหลักๆ ก็มี คณิตศาสตร์วิศวะ 41 % ฟิสิกส์วิศวะ 38% ความรู้พื้นฐานทางวิศวะ 12 % เคมีวิศวะ 9% ข้อสอบจะมีทั้งอัตนัยและปรนัยซึ่งรวมทั้งหมด 80 ข้อ ภายในเวลา 180 นาที [2 นาทีกว่าๆต่อข้อ ดูเหมือนจะชิลๆนะ แต่มันไม่ชิลๆอย่างที่คิดเพราะเป็นวิชาคำนวณ T_T] ปรนัยมี 60 ข้อ ข้อละ 4 คะแนน อัตนัย 10 ข้อ ข้อละ 6 คะแนน ข้อสอบครั้งที่ผ่านมานั้นถือว่าเป็นข้อสอบไม่ยากแต่เยอะเพราะข้อสอบอัตนัยแต่ละข้อนั้นต้องฝนถึงหกช่องซึ่งจาเสียเวลาฝน ตอนทำข้อสอบต้องมีความแม่นยำเพราะเราจะไม่มีเวลามาทบทวน และแน่นอนครับในเมื่อข้อสอบมันน้ำหนักต่างกันเราต้องมีแผนในการทำข้อสอบ คะแนนที่เราต้องการก็ไม่ใช่ทำเต็ม 300 เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีข้อที่ทำไม่ได้บ้าง เป็นเรื่องธรรมดา เราต้องการกันประมาณ 200 ถ้าน้องได้คะแนนประมาณนี้น้องก็เหมือนได้ก้าวขาข้างหนึ่งเข้าไปในมหาวิทยาลัยที่น้องต้องการแล้ว ก่อนอื่นเรามารู้จักเนื้อหาในข้อสอบก่อน

 

1. คณิตศาสตร์วิศวะ ข้อสอบส่วนนี้มีประมาณ 41% เนื้อหาประกอบไปด้วย calculus ลำดับอนุกรม Expo/Log สามเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื้อหาที่ออกรองลงมาก็ตือ พวกเรขาคณิต ฟังก์ชัน การแก้สมการ ข้อสอบออกไม่ค่อยยาก แต่อย่าสะเพร่า คิดเลขผิดนะ

2. ฟิสิกส์ ข้อสอบส่วนนี้มีประมาณ 28% เนื้อหาประกอบไปด้วย ไฟฟ้ากระแสตรง ก๊าซและความร้อน ของเหลวและของไหล สามเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะออกเกินครึ่ง ส่วนเรื่องที่ออกรองลงมาคือพวกกลศาสตร์ ไฟฟ้ากระแสสลับ อันนี้ค่อนข้างจะใช้การวิเคราะห์เยอะ และก็มีโจทย์คำนวนด้วย

3. เคมี ข้อสอบส่วนนี้มีประมาณ 9 % เนื้อหาประกอบไปด้วย กรดเบส ปริมาณสารสัมพันธ์ ไฮโดรคาร์บอน พันธะเคมี สี่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะออกเกินครึ่ง

4. ความรู้พื้นฐานทางวิศวะ ข้อสอบส่วนนี้มีประมาณ 12 % วิชานี้ก็ค่อนข้างจะถามคำถามพวก การเขียนแบบวิศวะ ความรู้พื้นฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม วิธีคิดแบบวิศวะและความรู้แบบเบ็ดเตล็ด แบบรู้ก็ตอบได้ไม่รู้ก็จบครับ แต่มีวิเคราะห์มากขึ้นหน่อย

 

ดังนั้นคำแนะนำเลยคือ จากประสบการณ์ที่เคยดูข้อสอบเก่าย้อนหลัง และ ก็เข้าสอบด้วยตัวเองในครั้งที่ผ่านมา เราควรจาทำข้อสอบอย่างรวดเร็วโดยเลือกทำข้อที่ง่ายก่อน ข้อไหนง่ายให้รีบทำ(อย่างรอบคอบ อย่าสะเพร่านะ) และทำให้ถูกด้วย ข้อไหนที่น้องมองแล้วต้องใช้กระบวนการคิดเยอะ ซับซ้อนให้ข้ามไปก่อนถ้ามีเวลาเหลือค่อยกลับมาทำทีหลังอย่าหมกมุ่นกับข้อที่เราทำไม่ได้เพราะมันจาเสียเวลามาก ให้คิดไว้ว่าข้อยากเราทำไม่ได้ คนอื่นก็ทำไม่ได้เหมือนกัน ข้อไหนที่เราคิดว่าทำไม่ได้แน่ๆให้เดาไปเลย แล้วไปทำข้ออื่นอย่างรวดเร็ว เวลาเจอข้อสอบจริงๆ เนื้อหาทั้งหมดจะคละกัน

ดังนั้นสรุปนะครับ เราควรแบ่งเวลาดังนี้ครึ่งชั่วโมงแรกทำ อัตนัยก่อนเพราะคะแนนเยอะ ข้อละ 6 คะแนน (ควรทำให้เสร็จหรือเหลือแต่ข้อยากๆเอาไว้) และเวลาอีก 2 ชั่วโมง ทำปรนัย ถ้าเวลาเหลือให้ย้อนกลับมาทำข้อยาก ลองคิดดูนะคับถ้าเราได้อัตนัยชัวๆ 7 ข้อ เราก็ 42 คะแนนแล้ว เราทำปรนัยให้ถูกอีกแค่ 40 ข้อเอง เราก็จะได้คะแนนประมาณ 200 แล้ว จะเห็นว่า คะแนน 200 นี้ทำได้ไม่ยาก

และสุดท้ายนี้เหลือเวลาอีกไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ก็จะสอบแล้วใช่ไหมครับ ดังนั้นอย่าไปเครียดกับมันว่าอ่านนู้นไม่ทันอ่านนี่ไม่ทันอ่านไม่ทัน ให้ทำใจไว้ว่าทันครับ เรามาเอา 200 เราไม่ได้มาเก็บ 300 ครับ สิ่งที่ควรทำก็คือรักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจ ให้ดี ถ้าทำได้แบบนี้พรุ่งนี้ก็ผ่านฉลุยแล้วแหละครับ ขอให้โชคดีได้คณะที่ต้องการนะครับ น้องๆทุกคน : )

Cr.superposition

 

 

ในส่วน ADMISSION สอนวิชา PAT1 (คณิตศาสตร์)   PAT2 (วิทยาศาสตร์ : ฟิสิกส์ , เคมี , ชีวะ)   PAT3 (ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์)

 

สอนโดย  อดีตนักศึกษาแพทย์มหิดลชั้นปีที่ 6 (extern) ที่มีเกรดเฉลี่ยรวมดีเยี่ยมถึงเกณฑ์มีสิทธิ์ได้รับทุนคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นอาจารย์แพทย์ด้านการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์(Ph.D.) ถึงระดับปริญญาเอก

ปัจจุบันเป็นเจ้าของโรงเรียนกวดวิชาครูพี่ top และประกอบกิจการส่วนตัว

ติดต่อ tel : 08-4455-0520
www.kru-top.com
E-mail : topne_911@hotmail.com
kru_top@live.com
Line ID : toffykung 123
Instagram : tutortop

 

อ่านประวัติผู้สอนเต็มๆ คลิกที่นี่

ความเห็นจากเพื่อนๆที่ประสบความสำเร็จหลังจากมาเรียนกับครูพี่ top คลิกที่นี่

 

 

กวดวิชา สอนพิเศษ ติวเตอร์ เรียนพิเศษติวตัวต่อตัว เรียนพิเศษ รับสอนพิเศษ ครูสอนพิเศษ รับติว โรงเรียนกวดวิชา สถาบันกวดวิชา โรงเรียนสอนพิเศษติว สถาบันสอนพิเศษติว ติวทำเกรด ติวสอบเข้าสอบแข่งขัน ติว ติวเสริมเพิ่มเกรด ติวสอบ ติวสอบเข้า ติวตัวต่อตัว เรียนตัวต่อตัว สอนพิเศษตัวต่อตัว ครูสอนตัวต่อตัว  สอนเดี่ยว/กลุ่มย่อย  ติวเดี่ยว/กลุ่มย่อย